1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. PBN คืออะไร การสร้างเครือข่ายที่ส่งผลต่อ SEO พร้อมข้อควรระวัง
PBN คือ
เผยแพร่เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2025

PBN คืออะไร การสร้างเครือข่ายที่ส่งผลต่อ SEO พร้อมข้อควรระวัง

Table Of Contents

ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์คือหนึ่งในปัจจัยที่ Google นำมาใช้พิจารณาเลือกเว็บไซต์ที่จะทำมาขึ้นแสดงบนหน้าแรก ยิ่งเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือสูง โอกาสที่เว็บไซต์จะติดอันดับ 1 ก็ยิ่งสูงขึ้น วิธีเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่คนทำ SEO รู้กันดีคือการสร้าง Link Building บนเว็บไซต์อื่นและส่งลิงก์กลับมา หรือที่เรียกว่าการทำ Backlink นั่นเอง วิธีนี้ได้ผลดีมาก แม้แต่เอเจนซี่รับทำ SEO ก็ทำเช่นกัน อย่างไรก็ตามคนที่ไม่ได้ทำ SEO ในฝั่งของ Off-Page เท่าไหร่นัก อาจจะยังไม่เข้าใจว่า PBN คืออะไร มักต่างจากการสร้าง Backlink ที่เราทำ ๆ กันอยู่อย่างไร ANGA จึงจะมาอธิบายให้คุณทราบกันว่า PBN หรือ Private Blog Network คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร พร้อมแจ้งข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง

PBN คืออะไร

PBN คือเครือข่ายเว็บบล็อกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำ Backlink ให้กับเว็บไซต์หลักโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Off-Page SEO เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ ซึ่งหลักการทำงานของ PBN คือการสร้างเว็บไซต์ย่อยขึ้นมาหลาย ๆ เว็บ แล้วให้แต่ละเว็บสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนเว็บไซต์หลัก จากนั้นจึงทำการลิงก์กลับไปยังเว็บไซต์หลักที่ต้องการผลักดันอันดับ เช่น คุณทำธุรกิจคลินิกศัลยกรรมความงาม คุณมีเว็บไซต์หลักอยู่ 1 เว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ติดอันดับบนหน้าแรกได้เร็วขึ้น คุณจึงสร้างเว็บไซต์ PBN ขึ้นมา โดยเนื้อหาภายในเว็บไซต์ PBN จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศัลยกรรมความงามแบบเว็บไซต์หลัก จากนั้นก็ทำการสอดแทรกลิงก์ของเว็บไซต์หลักลงไปในเนื้อหา เป็นต้น

การทำ PBN แตกต่างจากการหา Backlink ทั่วไปตรงที่เราสามารถควบคุมคุณภาพและทิศทางของเนื้อหาได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาการสร้างลิงก์จากเว็บไซต์ภายนอก เนื่องจากเป็นการสร้างระบบนิเวศของเว็บไซต์ขึ้นมาเอง ทั้งนี้ PBN แต่ละเว็บจำเป็นต้องมีการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ เพื่อให้ดูเป็นเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริงด้วย

ประเภทของ Private Blog Network

Private Blog Network หรือ PBN แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. PBN ที่มีคุณภาพ

PBN ที่มีคุณภาพจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด มีการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงกับที่ Search Engine ต้องการ พร้อมกับการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับเว็บไซต์หลัก ส่งผลให้การทำ PBN แบบนี้มีความเป็นธรรมชาติ ดูน่าเชื่อถือ และทำให้ Google รู้สึกว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่คอยสนับสนุนเว็บไซต์หลักอย่างเป็นธรรมชาติ ข้อดีคือมีความปลอดภัยสูง มั่นคง ส่งผลดีต่อการทำ SEO ในระยะยาว แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน เพราะคุณต้องมีทีมงานมาดูแลเว็บไซต์นี้อย่างจริงจัง เพื่อให้เนื้อหามีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง

2. PBN ที่ไม่มีคุณภาพ

PBN ที่ไม่มีคุณภาพเป็นการซื้อโดเมนเก่าที่หมดอายุแล้วมาใช้งาน พร้อมกับสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ ถึงแม้ว่าโดนเมนจะมีคะแนนสูง แต่ก็ไม่ได้ทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพเทียบเท่ากับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเนื้อหาเดิมที่เคยมีกับเนื้อหาใหม่ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือเป็นเพราะโดเมนเก่าเคยมีประวัติเสียที่เราอาจไม่รู้มาก่อนได้ วิธีนี้จะเน้นสร้าง Backlink อย่างรวดเร็ว เน้นปริมาณลิงก์มากกว่าคุณภาพ จึงไม่ได้เน้นคุณภาพของเนื้อหามากเท่าไหร่นัก ข้อดีของ PBN ประเภทนี้คือใช้ทรัพยากรคนและเวลาน้อย ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และเห็นผลเร็ว แต่ข้อเสียที่น่ากลัวคือมีความเสี่ยงที่จะถูก Google ลงโทษสูง จึงต้องคอยสร้างเว็บไซต์ PBN ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

PBN สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ?

นักทำ SEO ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการสร้าง Backlink เพราะมันคือตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในสายตา Google แต่การที่จะขอให้เว็บไซต์อื่นมาลิงก์หาเรานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับความไว้วางใจ บางครั้งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ๆ ในการซื้อพื้นที่โฆษณาด้วย การทำ PBN จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น เพราะช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถสร้างเครือข่าย Backlink คุณภาพได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเว็บไซต์อื่น

ข้อดีของการทำ PBN

  • ควบคุมคุณภาพและทิศทางของ Backlink ได้อย่างเต็มที่
  • ปรับเปลี่ยนเนื้อหาและ Anchor text ได้ตามต้องการ
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวเมื่อเทียบกับการซื้อ Backlink แบบรายครั้ง
  • สามารถสร้างเครือข่ายเว็บไซต์ที่สนับสนุนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอิสระในการจัดการและปรับแต่งเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา
  • ใช้ในการสร้างรายได้เสริมจากโฆษณาบนเว็บไซต์ PBN ได้

ข้อเสียของการทำ PBN

  • มีความเสี่ยงที่จะถูก Google ลงโทษหากทำไม่ถูกวิธี
  • ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากในการดูแลระบบ
  • ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเครือข่าย
  • มีต้นทุนเริ่มต้นสูงในการสร้างและดูแลระบบ
  • ต้องคอยติดตามและปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึม
  • อาจเสียเวลาและเงินโดยเปล่าประโยชน์หากทำไม่ถูกวิธี

ข้อควรระวังในการทำ PBN

  • ควรใช้ IP Hosting และ Location แยกกันสำหรับแต่ละเว็บไซต์ในเครือข่าย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ Template และการออกแบบเว็บไซต์ที่เหมือนกัน
  • ไม่ควรใช้ข้อมูลผู้ลงทะเบียนโดเมนและโฮสติ้งซ้ำกัน
  • ระวังการสร้าง Backlink จากหลายเว็บในเครือข่ายไปยังหน้าเดียวกัน
  • ไม่คัดลอกหรือใช้เนื้อหาซ้ำกันระหว่างเว็บไซต์ในเครือข่าย (สร้างใหม่เท่านั้น)
  • สร้างรูปแบบการเชื่อมโยง Backlink ให้ดูเป็นธรรมชาติ
  • อัปเดตเนื้อหาแต่ละเว็บอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ Anchor text เดิมซ้ำ ๆ ในการทำ Backlink
  • ระมัดระวังไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าทุกเว็บไซต์เป็นเว็บไซต์ในเครือเดียวกัน
  • ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพของแต่ละเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง

บทสรุป

การสร้างเครือข่ายเว็บไซต์หรือ PBN คือกลยุทธ์ SEO ที่ได้รับความนิยม แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากทำอย่างมีคุณภาพและระมัดระวัง ก็สามารถช่วยผลักดันอันดับเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากทำผิดวิธีหรือมุ่งเน้นแต่ปริมาณ ก็อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาวได้ สำหรับผู้ที่สนใจทำ PBN ควรเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน ประเมินความพร้อมทั้งด้านงบประมาณและบุคลากร และที่สำคัญคือต้องมีพร้อมที่จะดูแลระบบอย่างต่อเนื่องด้วย หากเรื่องเหล่านี้ไม่พร้อม แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทรับทำ SEO ที่มีคุณภาพ และใช้เทคนิคการทำ SEO สายขาวเท่านั้น เพื่อการเติบโตของเว็บไซต์อย่างยั่งยืนและไร้ความเสี่ยงในการโดนลงโทษจาก Google

บทความที่เกี่ยวข้อง

Google เผยเอกสาร 8 วิธีทำให้เว็บไซต์คุณติด AI Search ทุกตัว

จาก SEO (Search Engine Optimization) สู่ AI Search Optimization ตอนนี้คุณไม่ต้อง ‘งม’ เองอีกต่อไป ว่าจะต้องปรับตัวยังไงดี เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ Google ได้เปิดตัว Google AI Mode และ Gemini โมเดลใหม่ ๆ ข
43

Google AI Mode ฟีเจอร์ใหม่ที่จะทำให้วงการ SEO สั่นสะเทือน

งาน Google I/O 2025 ปีนี้ Google ได้นำเปิดตัวเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่น่าสนใจมากมาย แต่สิ่งที่เป็นไฮไลต์เด็ดของงานนี้ก็คือ “Google AI Mode” ฟีเจอร์สุดล้ำที่นำ Gemini 2.5 (โมเดลที่ฉลาดที่สุดของ Google) ม
151

ANGA เปิดรับสมัคร AMC รุ่น 2 (2025)

กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้องกับโครงการ AMC (ANGA Management Candidates) รุ่น 2 ที่ใคร ๆ หลายคนต่างรอคอย หลังจากที่โครงการ AMC รุ่น 1 ประสบความสำเร็จและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างมาก  เพราะเป็นโครง
141
th