1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. เข้าใจ Nofollow Link คืออะไร และสำคัญกับการทำ SEO อย่างไร
Nofollow Link
เผยแพร่เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2024 | แก้ไขเมื่อ: มีนาคม 26, 2025

เข้าใจ Nofollow Link คืออะไร และสำคัญกับการทำ SEO อย่างไร

Table Of Contents

ถ้าคุณกำลังเรียนรู้หรือเพิ่งก้าวเข้าสู่โลกของการทำ SEO (Search Engine Optimization) คุณจะพบได้ว่าองค์ประกอบในการทำ SEO ให้สำเร็จมีอยู่เยอะมาก ซึ่งรวมถึงเรื่องของการทำ Backilink ด้วยเช่นกัน Backlink คือวิธีทำ SEO จากภายนอกเว็บไซต์ โดยการทำให้เว็บไซต์อื่น ๆ ส่งลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา และทำให้ Google รับรู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพจนถูกนำไปอ้างอิงหรือได้รับการยอมรับ แต่ลิงก์ที่ส่งมาก็จะมีทั้ง Dofollow Link และ Nofollow Link ก่อนหน้านี้ ANGA จะอธิบายไปแล้วว่า Dofollow Link คืออะไร ดังนั้น บทความนี้เราจึงจะพาคุณไปเจาะลึกเรื่อง Nofollow Link กันบ้าง มาติดตามอ่านและคลายข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันได้เลย ไม่ว่าคุณจะเป็นนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาบริษัทรับทำ SEO อยู่ก็ตาม

Nofollow Link คืออะไร

Nofollow Link คือลิงก์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษผ่านแอตทริบิวต์ rel=”nofollow” ในโค้ด HTML เพื่อบอกกับเครื่องมือค้นหา (Search Engine) อย่าง Google ว่าไม่ต้องส่งต่อค่าความน่าเชื่อถือหรือ PageRank ไปยังเว็บไซต์ปลายทาง แม้ผู้ใช้งานสามารถคลิกลิงก์เหล่านี้ได้ตามปกติ แต่ลิงก์เหล่านี้จะไม่มีผลในการช่วยให้เว็บไซต์ปลายทางติดอันดับในผลการค้นหาแบบทางตรง ซึ่ง Google เริ่มนำ Nofollow มาใช้ในช่วงปี 2005 เพื่อแก้ปัญหาการสแปมลิงก์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในช่วงเวลานั้น

ตัวอย่างโค้ด Nofollow Link

<a href=”https://www.example.com” rel=”nofollow”>ลิงก์ตัวอย่าง</a>

หลักการทำงานของ Nofollow Link ค่อนข้างตรงไปตรงมา โดย Googlebot จะอ่านค่าแอตทริบิวต์ Nofollow และใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าจะส่งต่อค่าความน่าเชื่อถือไปยังเว็บไซต์ปลายทางหรือไม่ ที่น่าสนใจคือแม้ว่า Nofollow Link จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับ แต่การมีลิงก์ประเภทนี้ผสมผสานอยู่ในโปรไฟล์ลิงก์ของเว็บไซต์กลับช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของ Search Engine ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นเราจึงควรมี Backlink แบบ Nofollow Link ด้วย ไม่ใช่ Dofollow อย่างเดียว

Nofollow Link ต่างกับ Dofollow Link อย่างไร

Dofollow Link คือลิงก์มาตรฐานที่เชื่อมโยงระหว่างเว็บไซต์ปกติทั่วไป โดยไม่มีคำสั่งพิเศษใด ๆ ในโค้ด HTML อย่าง Nofollow Link เมื่อ Googlebot พบลิงก์ประเภทนี้ จะถือว่าเป็นการโหวตให้กับเว็บไซต์ปลายทาง และส่งต่อค่าความน่าเชื่อถือหรือ “Link Juice” ไปให้ Dofollow Link จึงมีผลช่วยให้เว็บไซต์ปลายทางได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นในผลการค้นหา โดยปกติลิงก์ทั้งหมดจะเป็น Dofollow โดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น

สรุปความแตกต่าง

  • Dofollow Link ส่งผลบวกต่ออันดับ SEO ขณะที่ Nofollow Link แทบไม่มีผลโดยตรง
  • Dofollow Link เป็นการรับรองคุณภาพของเว็บปลายทาง ส่วน Nofollow Link เป็นเพียงลิงก์เชื่อมโยง ไม่ได้ต้องการรับรองหรือส่งต่อค่าพลัง SEO ไปยังเว็บไซต์ปลายทาง
  • Dofollow Link มักใช้เชื่อมโยงกับเว็บที่เรามั่นใจในคุณภาพ ส่วน Nofollow Link ใช้กับลิงก์โฆษณา ลิงก์ในแพลตฟอร์ม Social Media หรือลิงก์ในคอมเมนต์
  • ทั้ง Dofollow Link และ Nofollow Link สามารถนำผู้เข้าชมมาสู่เว็บไซต์ได้เหมือนกัน

Nofollow Link สำคัญกับ SEO อย่างไรบ้าง

บางคนอาจจะเข้าใจว่า Nofollow Link ไม่ได้ช่วยอะไรในการผลักดันอันดับ หรือเพิ่มประสิทธิภาพ SEO เลย จริง ๆ แล้ว Nofollow Link ช่วยเสริมพลังให้ SEO ได้แบบอ้อม ๆ เพราะการมี Nofollow Link เข้ามาที่เว็บไซต์อย่างเป็นธรรมชาติ (อาจจะมาจากโพสต์บน Facebook หรือตามคอมเมนต์ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ ) ตรงนี้จะเป็นสัญญาณในการทำให้ Google รู้ว่ามีคนกล่าวถึงหรือรับรองเว็บไซต์ของเรา ทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเราดูน่าเชื่อถือขึ้นมาอีกนิด และมีส่วนทำให้อันดับสูงขึ้นได้ถึงแม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม แถมยังช่วยเพิ่ม Traffic อีกด้วย ทั้งนี้ Google มีปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณานำเว็บไซต์ไปจัดอันดับอีกมาก อาทิ คุณภาพของเนื้อหา โครงสร้างเว็บไซต์ ความเร็วเว็บไซต์ ฯลฯ

ลิงก์จากแหล่งไหนเป็น Nofollow Link บ้าง

  • ลิงก์จาก Social Media ทั้งหมด เช่น Facebook, Instagram, X (Twitter), Pinterest และ LinkedIn ตั้งค่าลิงก์เป็น Nofollow เพื่อป้องกันการสแปม
  • วิกิพีเดียและเว็บสารานุกรมออนไลน์ กำหนดให้ลิงก์ภายนอก (External Link) ทั้งหมดเป็น Nofollow Link เพื่อรักษาความเป็นกลาง
  • เว็บไซต์ข่าวและเว็บไซต์สื่อชั้นนำ
  • ลิงก์ในประวัติส่วนตัวและลายเซ็น บนฟอรั่มและเว็บไซต์ต่าง ๆ 
  • เว็บฝากประกาศและลงโฆษณาฟรี
  • เว็บบอร์ดและเว็บชุมชน อย่าง Pantip, Reddit และ Quora
  • ความคิดเห็นบนบล็อกและเว็บไซต์ส่วนใหญ่ถูกตั้งค่าเป็น Nofollow เพื่อป้องกันการสแปมลิงก์
  • ลิงก์ในเนื้อหาโฆษณาและสปอนเซอร์ ตามแนวทางของ Google ควรใส่ rel=”nofollow” หรือ rel=”sponsored”
  • ลิงก์แนะนำสินค้าแบบ Affiliate Link ที่มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่น ควรตั้งเป็น Nofollow

ควรใช้ Nofollow Link ในกรณีไหนบ้าง

  1. การจัดการลิงก์ภายในเว็บไซต์ตัวเอง

หน้าเว็บบางประเภทก็ไม่จำเป็นต้องติดอันดับ อย่างหน้าติดต่อเรา หน้าสมัครสมาชิก หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว หรือหน้าข้อกำหนดการใช้งาน การใส่ Nofollow ช่วยบอก Google ว่าไม่ต้องให้ความสำคัญกับหน้าเหล่านี้ในการจัดอันดับ

  1. การจัดการลิงก์ภายนอกที่ปรากฏซ้ำในทุกหน้า

ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีการวางแบนเนอร์หรือลิงก์ในส่วน Header หรือ Footer และมันจะไปปรากฏในทุกหน้าเว็บไซต์ การใส่ Nofollow จะช่วยป้องกันปัญหาการสแปมลิงก์ได้ เพราะถ้าเว็บไซต์มี 1,000 หน้า ก็จะเท่ากับมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์นั้น 1,000 ลิงก์ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการจัดอันดับของทั้งสองฝ่ายได้นั่นเอง

สอนวิธีเช็ก Nofollow Link บนเว็บไซต์

Nofollow Link สามารถเช็กได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีง่าย ๆ อย่างการคลิกขวาและดู Inspect, การใช้ Extensions หรือส่วนขยายบนเบราว์เซอร์ และการใช้เครื่องมือ SEO มาช่วยตรวจสอบ ดังนี้

  1. วิธีที่ 1 คลิกขวา > Inspect
  • คลิกขวาที่ลิงก์ที่ต้องการตรวจสอบ
  • เลือก “ตรวจสอบ” หรือ “Inspect Element”
  • ดูโค้ด HTML ถ้ามี rel=”nofollow” อยู่ในแท็ก <a> แสดงว่าเป็น Nofollow Link
  1. วิธีที่ 2 ใช้ Extensions
  • ติดตั้งส่วนขยาย เช่น “NoFollow” หรือ “SEO Minion” สำหรับ Chrome หรือ Firefox
  • เมื่อเปิดใช้งาน ส่วนขยายจะไฮไลต์หรือทำสัญลักษณ์บนลิงก์ที่เป็น Nofollow โดยอัตโนมัติ
  1. วิธีที่ 3 ใช้เครื่องมือเข้าช่วย
  • เครื่องมืออย่าง Ahrefs, SEMrush หรือ Moz สามารถสแกนเว็บไซต์และรายงานสถานะของลิงก์ทั้งหมดได้
  • ใส่ URL ที่ต้องการตรวจสอบเข้าไป ระบบจะแสดงรายการลิงก์พร้อมระบุว่าเป็น Dofollow หรือ Nofollow

สรุป

Nofollow Link อาจจะไม่ได้ส่งผลต่ออันดับเว็บไซต์บน Google ขนาดนั้น แต่ก็ช่วยเพิ่ม Traffic ให้มีผู้ใช้งานบนเว็บไซต์เยอะ ๆ ได้ การมี Nofollow Link เข้ามาบ้าง จึงเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ หากคุณพบว่า Nofollow Link ที่ได้รับมีมากจนล้นหรือมาจากการส่ง Backlink มาจากเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ แนะนำให้กำจัดออกไป ผ่านการใช้เครื่องมือ Disavow ของ Google Search Console หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับนักการตลาดที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำ SEO หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ไม่มากก็น้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Google เผยเอกสาร 8 วิธีทำให้เว็บไซต์คุณติด AI Search ทุกตัว

จาก SEO (Search Engine Optimization) สู่ AI Search Optimization ตอนนี้คุณไม่ต้อง ‘งม’ เองอีกต่อไป ว่าจะต้องปรับตัวยังไงดี เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ Google ได้เปิดตัว Google AI Mode และ Gemini โมเดลใหม่ ๆ ข
43

Google AI Mode ฟีเจอร์ใหม่ที่จะทำให้วงการ SEO สั่นสะเทือน

งาน Google I/O 2025 ปีนี้ Google ได้นำเปิดตัวเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่น่าสนใจมากมาย แต่สิ่งที่เป็นไฮไลต์เด็ดของงานนี้ก็คือ “Google AI Mode” ฟีเจอร์สุดล้ำที่นำ Gemini 2.5 (โมเดลที่ฉลาดที่สุดของ Google) ม
151

ANGA เปิดรับสมัคร AMC รุ่น 2 (2025)

กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้องกับโครงการ AMC (ANGA Management Candidates) รุ่น 2 ที่ใคร ๆ หลายคนต่างรอคอย หลังจากที่โครงการ AMC รุ่น 1 ประสบความสำเร็จและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างมาก  เพราะเป็นโครง
141
th